ชื่อสามัญ สะเดาเทียม
ชื่อพื้นเมือง เทียม, สะเดาช้าง (ตรัง)
สะเดาเทียม
ลักษณะ
ไม้ต้นสูง ๓๐ – ๔ เมตร เปลือก เรียบเมื่ออายุยังน้อย เมื่อมีอายุมากขึ้นเปลือกจะแตกล่อนเป็นแผ่น ใบประกอบเป็นรูปขนนก ก้านใบยาว ๒๐ – ๖ เซนติเมตร เรียงสลับกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อย เยื้องสลับกันเล็กน้อย จำนวน ๗ – ๑ คู่ แผ่นใบย่อยรูปไข่ กว้าง ๓ – ๔ เซนติเมตร ยาว ๕ – ๘ เซนติเมตร ปลายแหลมโคนสอบ ใบสีเขียวอ่อน ดอกออกรวมเป็นช่อ ตามง่ามใบ สีขาวหรือสีเขียวอ่อน ผลรูปไข่ เมื่อแก่สีเหลือง เนื้อในเมล็ดมีกลิ่นแรงมี เมล็ดเดียว
ออกดอกเดือนมีนาคม ผลแก่ เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด
นิเวศวิทยา
พบขึ้นทั่วไปทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพร ลงไป ส่วนมากพบขึ้นอยู่ตามเรือกสวนไร่นา
ประโยชน์ เป็นไม้โตเร็ว เนื้อไม้คุณภาพดี ปลวกและมอดไม่ค่อยทำลาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบ ทุกส่วน
เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องแกะสลัก ดอกอ่อนใช้รับประทานได้ เมล็ด นำมาสกัดสารทำยาฆ่าแมลง เปลือกต้มทำยาแก้บิดหรือท้องร่วง
ดอกไม้ประจำจังหวัด
ดอกเฟื่องฟ้า
เฟื่องฟ้า….เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางประเภทเถาเลื้อย ลำต้นมีความยาวประมาณ 1–10 เมตร มีลำเถาแข็งแรงเลื้อยไปได้ไกล ลำต้นมีหนามติดอยู่เป็นระยะๆ ลักษณะทรงพุ่มตัดแต่งได้ บังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ใบเป็นใบเดี่ยวแตกตามเถา รูปไข่ปลาย ใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ พื้นใบเรียบสีเขียว ออกดอกเป็นช่อตามส่วนยอด มีกลีบดอกหรือใบประดับ 3 กลีบ ส่วนดอกจะมี ดอกเล็กสีขาว กลีบดอกจะมีขนาดและสีสันแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์ ออกดอกตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูแล้งจะให้ดอกดกมาก
ต้นไม้ประจำจังหวัด |
สงขลา |
ชื่อพันธุ์ไม้ |
สะเดาเทียม |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs |
วงศ์ |
MELIACEAE |
ชื่ออื่น |
ต้นเทียม ไม้เทียม สะเดาช้าง สะเดาเทียม สะเดาใบใหญ่ (ภาคใต้) |
ลักษณะทั่วไป |
เป็นไม้ยืนต้นสูงตรงไม่มีกิ่งขนาดใหญ่ เมื่ออายุน้อยเปลือกต้นเรียบ เมื่ออายุมากเปลือกจะแตกเป็นแผ่นล่อนสีเทาปนดำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบเบี้ยวไม่ได้สัดส่วน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ฐานใบเบี้ยวไม่เท่ากัน เนื้อใบหนา เกลี้ยง สีเขียวเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง ดอกบานสีขาว ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม ผลทรงกลมรี ผลแก่สีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง |
ขยายพันธุ์ |
โดยการเพาะเมล็ดในถุงเพาะกล้าจนงอก และแข็งแรงก่อนจึงย้ายไปปลูกลงดิน |
สภาพที่เหมาะสม |
ดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำและอากาศได้ดี |
ถิ่นกำเนิด |
ตามเรือกสวนไร่นา แถบภาคใต้ของประเทศไทย |
Comments
Powered by Facebook Comments
Facebook
Google+
RSS