หรือบางที โรคเก๊าท์ อาจไม่ได้เกิดจากกินไก่แบบที่เราเข้าใจ ?
กินไก่แล้วปวดกระดูก 5 ความจริงเกี่ยวกับโรคเก๊าท์
เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า ‘กินไก่เยอะๆระวังเป็นเก๊าท์นะ’ ที่เราใช้เตือนหรือล้อเล่นกับคนใกล้ตัวอยู่บ่อยๆ แต่ถ้าวันนี้ Agnos จะมาบอกว่า ความเชื่อนั้นผิดล่ะ ?
วันนี้ Agnos จะพามาทำความรู้จักกับโรคเก๊าท์ให้มากขึ้นอีก เพราะเราอาจเสี่ยงเป็นโรคนี้ไม่รู้ตัว!
อันดับแรก เรามาทำความรู้จักกับโรคเก๊าท์กันก่อน
โรคเก๊าท์คืออะไร ?
โรคเก๊าท์ (Gout) คือ โรคข้ออักเสบที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวด ปวดแสบร้อน และบวมแดง ตามข้อต่ออย่างเฉียบพลันเป็นระยะๆ
อาการปวดเป็นอาการที่พบได้มากที่สุด และสามารถเกิดขึ้นได้ที่ข้อต่อเดียวหรือหลายๆข้อต่อพร้อมกัน ส่วนมากผู้ป่วยอาจเริ่มมีอาการที่บริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า แต่สามารถเกิดกับบริเวณอื่นๆได้ เช่น ข้อศอก หัวเข่า หรือกระดูกข้อนิ้ว
อาการของโรคเก๊าท์
อาการปวดในช่วงแรกจะมีอาการรุนแรงและจะเริ่มปวดน้อยลงหลัง 7-10 วัน แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการนานหลายอาทิตย์
อาการแทรกซ้อน
- ผิวหนังบริเวณที่ปวดมีอาการบวมแดงและแสบร้อน เนื่องจากเกิดการอักเสบและติดเชื้อในข้อต่อ
- อาจมีภาวะข้อติด
** ภาวะข้อติด คือ ภาวะที่ข้อต่อในร่างกายไม่สามารถขยับได้ตามปกติ ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวลำบาก
- หลังจากอาการดีขึ้น อาจมีอาการผิวหนังลอก หรือคันบริเวณนั้นๆ
1. สรุปแล้วโรคเก๊าท์เกิดจากการกินไก่จริงๆหรอ ?
กินไก่แล้วปวดกระดูก การกินไก่ในปริมาณมากๆ ไม่ได้ ทำให้เป็นโรคเก๊าท์ เพราะว่าโรคเก๊าท์ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) จนทำให้เกิดการตกผลึกของกรดยูริกตามข้อต่างๆ จนเกิดอาการปวดตามข้อนั่นเอง
โดยเจ้ากรดยูริกในไก่ไม่ได้มีมากขนาดนั้น และร่างกายของเราก็สามารถผลิตกรดยูริกได้เอง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์อยู่แล้ว หากกินไก่หรืออาหารที่มีโปรตีนสูงอาจทำให้กรดยูริกสูงขึ้นและอาการอาจกำเริบได้
แต่เดี๋ยวนะกรดยูริกที่ว่า..มันคืออะไรกัน ?
กรดยูริก (Uric Acid) คือ สารเคมีในเลือดที่ร่างกายได้มาจากการย่อยสลาย สารพิวรีน (Purines)
ปกติแล้วร่างกายจะสามารถเอาสารยูริกออกได้ด้วยการขับออกทางปัสสาวะหรืออุจจาระ และเมื่อมีกรดยูริกมากเกินไป หรือไตอาจทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) นั่นเอง
2.แค่น้ำอัดลมและน้ำผลไม้ก็อาจทำให้เสี่ยงโรคเก๊าท์
จริงอยู่ที่อาหารที่มีโปรตีนหรือสารพิวรีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องใน สารสกัดยีสต์ อาจทำให้เราเสี่ยงภาวะกรดยูริกในเลือดสูงจนนำไปสู่โรคเก๊าท์ได้ แต่น้ำอัดลมและน้ำผลไม้ก็อาจทำให้เราเสี่ยงได้เช่นกัน
การดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลฟรุกโตส (Fructose) อาจเพิ่มการสะสมของกรดยูริกในเลือดได้กว่า 85% เลยทีเดียว
นอกจากนี้แล้ว อาจยังมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้เราเสี่ยงภาวะกรดยูริกในเลือดสูงจนทำไปสู่โรคเก๊าท์ได้
- ขาดวิตามินซี
- โรคหรือภาวะอื่นๆอย่าง ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือภาวะอ้วน เป็นต้น
- ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- พันธุกรรม โดยพบว่า 1 ใน 5 ของคนที่ป่วยโรคเก๊าท์จะมีคนในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคนี้
- ยาหรืออาการเจ็บป่วยที่มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงเซลล์ในร่างกาย เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาเคมีบำบัดบางตัว หรือโรคสะเก็ดเงินขั้นรุนแรง
3.โรคเก๊าท์หายขาดได้
ถึงแม้ผู้ป่วยโรคนี้บางรายมีอาการแบบเป็นๆหายๆอยู่นาน แต่โรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้
โดยส่วนมากจะรักษาโรคเก๊าท์ด้วยยาและคุมพฤติกรรมการกินอาหารนั่นเอง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเรื้อรังหรือรุนแรง แพทย์อาจใช้วิธีรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อลดความเจ็บปวด
ลดการลามไปปวดบริเวณอื่น และภาวะแทรกซ้อนนั่นเอง
สิ่งที่ควรทำเมื่อเป็นโรคเก๊าท์
- ดื่มน้ำเยอะๆ
- หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุกโตสจำนวนมาก เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม หรือผลไม้บางชนิด
- หลีกเลี่ยงอาการที่มีกรดยูริกสูง เช่น เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เนื้อสัตว์บางชนิด ถั่วบางชนิด และสารสกัดยีสต์
- หากมีภาวะอ้วนควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอย่างถูกวิธี **ไม่ควรอดอาหารหรือลดน้ำหนักเร็วเกินไป
4.ทำไมโรคเก๊าท์ถึงชื่อ เก๊าท์(Gout)
เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมโรคเก๊าท์ถึงชื่อเก๊าท์ จะเหมือนภาษาอังกฤษก็ไม่ใช่ ภาษาจีนก็ไม่เชิง
จริงๆ แล้วคำว่า เก๊าท์ (Gout) ถูกใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1200 แล้ว คำว่า เก๊าท์ (Gout) มาจากคำว่า Gutta ในภาษาลาตินที่แปลว่า ‘หยด’ จากของเหลว ซึ่งความหมายที่ต้องการจะสื่อคือ การหยดของสารบางอย่างที่ผิดปกติจากเลือดบริเวณที่ข้อต่อ
5.โรคเก๊าท์เคยขึ้นชื่อว่า เป็นโรคของเหล่ากษัตริย์และคนรวย
ตั้งแต่ในสมัยโบราณโรคเก๊าท์เคยถูกเรียกว่าเป็นโรคของเหล่ากษัตริย์และเหล่าคนรวย เนื่องจากมีเพียงชนชั้นเหล่านี้เท่านั้นที่สามารถกินอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ในปริมาณมากๆ แอลกอฮอล์ หรือไวน์ จนทำให้พวกเขาเหล่านั้นเป็นโรคเก๊าท์นั่นเอง
นอกจากจะได้ทิปในการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคเก๊าท์แล้ว ยังได้ความรู้เท่ๆ ไปอวดเพื่อนๆ อีกด้วย !
หากใครสนใจหรือชอบบทความสุขภาพที่ไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่คิด สามารถติดตามพวกเราได้ที่เพจเฟซบุ๊ก Agnos Health หรือเว็บไซต์
นอกจากนี้ทาง Agnos เองก็เป็นแอปพลิเคชันตรวจเช็กอาการเบื้องต้นด้วย AI ปัญญาประดิษฐ์ที่ให้ผลแม่นยำ พร้อมบริการ 24 ชม. ทุกที่ทุกเวลา !
สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://agnoshealth.app.link/FFfeMvF1Nsb
อ้างอิง :
https://en.wikipedia.org/wiki/Gout
https://www.pobpad.com/เก๊าท์
https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail
https://hellokhunmor.com
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/gout
https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1217
https://www.thonburihospital.com/Gout.html
https://www.scimath.org/article/item
https://mydoctor.kaiserpermanente.org/mas/news/understanding-treating-and-managing-gout-1759065
Comments
Powered by Facebook Comments
Facebook
Google+
RSS