ข่าว สงขลา

วัคซีน โรคปอด

ข่าว สงขลา

วัคซีน โรคปอด

 

รู้จักกับ วัคซีน โรคปอด เป็นวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ ปอดอักเสบ เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส (Pneumococcus) ซึ่งในบางเคสของการติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 (COVID-19) นั้น ยังเป็นผลมาจากไข้หวัดใหญ่ หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ก่อนแล้ว

ดังนั้น วัคซีนโรคปอดอักเสบ หรือ Pneumococcus Vaccine จึงเป็นหนึ่งในวัคซีนสำคัญที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 นอกเหนือจากวัคซีนโควิด 19 และไข้หวัดใหญ่ประจำปี อันเนื่องมาจากโรคปอดอักเสบอาจจะก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าที่หลายคนคาดคิดไว้

      ปัจจุบัน วัคซีนปอดอักเสบจะป้องกันเฉพาะเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส แม้จะป้องกันได้ไม่ครบทุกสายพันธุ์ แต่จะครอบคลุมสายพันธุ์ที่พบได้บ่อยและก่อโรครุนแรงอยู่แล้ว โดยวัคซีนปอดอักเสบจะผลิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ตายแล้ว จึงไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในร่างกาย

ชนิดของวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ

Pneumococcal Conjugate Vaccine: PCV13 หรือ วัคซีนป้องกันปอดอักเสชนิดคอนจูเกต 13 สายพันธุ์เป็นวัคซีนที่เกิดจากการจำแอนจิเจนของเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสไปจับกับโปรตีนพาหะชนิดหนึ่ง กระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันได้ดี และป้องกันโรคได้นานขึ้น ครอบคลุมปอดอักเสบทั้งชนิดไม่ลุกลามและชนิดลุกลาม แนะนำให้ใช้ในเด็กอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้สูงอายุที่แพทย์เห็นสมควร

Pneumococcal Polysaccharide Vaccine: PPSV23 หรือ วัคซีนป้องกันปอดอักเสบชนิดโพลีแซคคาไรด์ 23 สายพันธุ์ คือวัคซีนที่ใช้แอนติเจนเพียงอย่างเดียวในการกระตุ้นถูมิคุ้มกันร่างกาย มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคที่ประมาณ 3 – 5 ปี แต่อาจจะไม่กระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกายในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีได้

ความสำคัญของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ

ช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยมีโอกาสติดเชื้อนิวโมคอคคัสร่วมกับโรคดังกล่าวได้ด้วย ซึ่งอาจส่งผลให้อาการที่เป็นอยู่ทวีความรุนแรงและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้นอีก และที่สำคัญคือ วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่ไม่อาจป้องกันปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสได้ การฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบเพิ่มเติมจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง

      ดังนั้นโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสมักก่อให้เกิดอาการในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ หายใจลำบาก มีไข้ หรือรู้สึกไม่สบาย ทว่าหากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็มีโอกาสเกิดอาการรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนอันนำไปสู่การเสียชีวิตได้ เช่น ปอดบวม การติดเชื้อในกระแสเลือด หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จึงจำเป็นจะต้องเข้ารักษาตัวในสถานพยาบาลภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด 

วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบเหมาะกับใครบ้าง

    ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป

    ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ หรือโรคประจำตัวในทุกช่วงวัย

    ผู้ที่มีโรคหืด โรคปอด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต หรือโรคตับ เป็นต้น

    ผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง

    ผู้ที่สูบบุรีเป็นประจำ

    ผู้ที่ไม่มีม้ามหรือม้ามทำงานผิดปกติ

    ผู้ที่น้ำไขสันหลังรั่ว

    ผู้ที่ใส่ชุดประสาทหูเทียม

    ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากปัญหาสุขภาพ อย่างเช่น โรคมะเร็ง หรือการติดเชื้อ HIV การทำบำบัดเคมี การใช้ยาบางชนิด และการปลูกถ่ายอวัยวะ

      โดยผู้ใหญ่ที่มีภูมิคุ้มกันแข็งแรงและไม่เคยฉีดวัคซีนปอดอักเสบมาก่อนควรเริ่มที่วัคซีน PCV13 แล้วเว้นระยะห่าง 1 ปี จึงฉีดวัคซีน PPSV23 สำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับชนิดของวัคซีนปอดอักเสบที่ควรฉีดและระยะเวลาในการฉีดที่เหมาะสม

วัคซีนโรคปอดอักเสบสามารถฉีดร่วมกันกับวัคซีนอื่นๆได้หรือไม่

มีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญว่าการให้เด็กและผู้ใหญ่ฉีดวัคซีนปอดอักเสบ และไข้หวัดใหญ่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 นั้น จะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าผลเสีย

       ทั้งนี้ ผู้ใหญ่อาจฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบพร้อมวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ในวันเดียวกัน แต่สำหรับวัคซีนโรคโควิด-19 ควรฉีดห่างจากวัคซีนปอดอักเสบ หรือวัคซีนชนิดอื่น ๆ อย่างน้อย 14 วัน หากผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเสมอ

ผลข้างเคียงของวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบมีอะไรบ้าง

วัคซีนป้องกันปอดอักเสบมักไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงต่อร่างกาย ผู้รับการฉีดวัคซีนอาจพบเพียงอาการปวด บวม หรือแดงบริเวณที่ฉีดยา มีไข้ เบื่ออาหาร หงุดหงิดง่าย รู้สึกเหนื่อย ปวดศีรษะ หรือปวดกล้ามเนื้อ บางรายอาจเกิดอาการแพ้วัคซีนที่รุนแรง (Anaphylaxis) แต่ก็พบได้น้อยมาก

การเตรียมความพร้อมก่อนฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ

 

ในเบื้องต้นผู้ที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนปอดอักเสบควรนอนหลักพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดให้มากๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน หากพบความผิดปกติ หรืออาการป่วยใดๆ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนการฉีดวัคซีน

การป้องกันโรคปอดอักเสบด้วยวิธีอื่นๆ

 

นอกเหนือจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคยังมีอีกหลายวิธีที่ควรทำควบคู่กัน โดยต้องอาศัยความมีวินัย ความระมัดระวัง และควรฝึกให้เป็นนิสัย จึงจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้มากที่สุด เช่น หมั่นล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ สวมหน้ากากอนามัยหรือปิดปากด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชู่ขณะไอหรือจาม งดสูบบุหรี่ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงทั้งจากการออกกำลังกาย การนอนหลับ หรือการรับประทานอาหาร เป็นต้น  

 

วัคซีนป้องกันปอดอักเสบจัดเป็นวัคซีนเสริม ไม่ใช่วัคซีนพื้นฐานฟรีที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐบาล จึงมีค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีนแตกต่างกันไปตามแต่ละสถานพยาบาล ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงความจำเป็นร่วมกับแพทย์แล้วจะเลือกฉีดหรือไม่ก็ได้ แต่วัคซีนชนิดนี้ก็เป็นตัวเลือกที่ดีในการเสริมสร้างเกราะป้องกันร่างกายให้กับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือหากมีสุขภาพดีอยู่แล้ว แต่กังวลและอยากฉีดป้องกันไว้ก่อนก็ทำได้เช่นกัน

 

สนับสนุนเนื้อหาโดย HappyLung.Pfizer.th

Comments

แสดงความคิดเห็นที่นี้

Powered by Facebook Comments

More in ข่าว สงขลา

เก้าอี้สตูล

เก้าอี้สตูล เบาะนั่ง

adminธันวาคม 15, 2023
bar in Bangkok

SUUP ARI BAR ใจกลางย่านอารีย์ 

adminธันวาคม 3, 2023

ร้านจำหน่ายและติดตั้งเบรก RePower

adminพฤศจิกายน 12, 2023
สินเชื่อโฉนดที่ดิน

โฉนดครุฑสีอะไร ยื่นกู้ได้ ?

adminพฤศจิกายน 11, 2023

AP Brake ชุดเบรกรถยนต์คุณภาพจากแบรนด์ AP Racing นำเข้าจากสหราชอาณาจักร

adminกันยายน 14, 2023
ทำฟัน พิษณุโลก

คลินิกทันตกรรมพิษณุโลก ให้บริการโดยหมอฟันผู้เชี่ยวชาญ

adminกรกฎาคม 17, 2023

Hair Volume ร้านทำผม บางแค

adminมิถุนายน 18, 2023

วิธีการเลือกชั้นวางสินค้า rack ให้เหมาะกับการใช้งาน

adminพฤษภาคม 8, 2023

วีธีการเลือก โต๊ะประชุม ให้เหมาะกับการใช้งาน

adminเมษายน 4, 2023