เก้าอี้

เก้าอี้ห้องประชุม ที่เหมาะกับการทำงานและเข้ากับห้องประชุม

เก้าอี้

เก้าอี้ห้องประชุม  – เนื่องจากห้องประชุมหรือห้องสัมมนาเป็นพื้นที่กว้าง และแน่นอนว่าต้องใช้ เก้าอี้รับรอง จำนวนมากในการใช้ให้พอจำนวนคน ดั้งนั้นเราจึงต้องเลือกใช้เก้าอี้มีประสิทธิภาพจะต้องพิจารณาถึงงบประมาณการเลือกซื้อเป็นอันดับแรก เพื่อให้คุ้มค่าแก่การลงทุนซึ่งเก้าอี้ที่ใช้ต้องมีความทนทานและนั่งแล้วไม่ปวดหลัง เพราะผู้เข้ามาใช้เก้าอี้จะต้องใช้สมาธิในการสัมมนาระยะเวลาที่เข้าประชุมอาจใช้เวลานานพอสมควร

รูปแบบการจัดห้องประชุม

1.การจัดห้องประชุมแบบเธียเตอร์ เป็นการจัดห้องประชุมที่ยึดรูปแบบโรงหนังหรือโรงละครเวที

2.การจัดห้องประชุมแบบเก้าอี้วงกลม รูปแบบการจัดห้องประชุมแบบใช้เพียงเก้าอี้อย่างเดียว

3.การจัดห้องประชุมแบบห้องเรียน การประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมจะต้องมีการจดบันทึก

4.การจัดห้องประชุมแบบบอร์ดรูม  การประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมต้องปรึกษาหารือและระดมความคิดกัน

5.การจัดห้องประชุมแบบโต๊ะกลมวงปิด งานที่ต้องการให้ผู้เข้าร่วมได้มีการพูดคุยสนทนาได้อย่างสะดวก

6.การจัดห้องประชุมแบบโต๊ะวงกลมเปิด เหมาะกับงานที่ผู้เข้าร่วมพูดคุยพร้อมๆกับที่ต้องการให้ผู้เข้าร่วมสามารถมองเห็นเวทีได้สะดวกมากขึ้น

7.การจัดห้องประชุม U shape เหมาะกับงานขนาดเล็ก-กลางที่วิทยากรหรือผู้บรรยายต้องการใกล้ชิดผู้ฟัง สามารถเดินเข้าไปหาผู้ฟังได้ง่าย

รูปแบบของเก้าอี้ประชุม

1.เก้าอี้โพลี

2.เก้าอี้สัมมนา

3.เก้าอี้หัวโค้ง

4.เก้าอี้ทรงราชา

ฮวงจุ้ยห้องทํางานผู้บริหารและการออกแบบ

ทิศทางการตั้งห้องทำงานผู้บริหาร
ตำแหน่งที่ตั้งของห้องทำงานระดับผู้บริหารที่เหมาะสมกับฮวงจุ้ยที่ดีนั้น ควรตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทิศดังกล่าวมีความหมายว่าอาวุโส และมีการเคลื่อนไหวของทรัพย์สินเงินทอง เหมาะสำหรับองค์กรภาคเอกชนที่ต้องการความมั่งคั่งของทรัพย์สินภายในบริษัท

ห้องทำงานผู้บริหารต้องสว่าง
ไม่เพียงแต่ทิศทางการตั้งห้องทำงานเท่านั้น ในการการออกแบบห้องทำงานผู้บริหารตามฮวงจุ้ยนั้น ควรมีแสงสว่างภายในห้อง โดยแสงสว่างเปรียบเสมือนพื้นที่รับพลังงานหยาง โดยพลังงานหยางเป็นพลังที่เสริมสร้างความกระตือรือร้น เป็นพลังงานแห่งความเคลื่อนไหว ช่วยผลักดันให้องค์กรก้าวหน้า ทั้งนี้ในการออกแบบห้องควรเพิ่มกระจกหรือเลือกใช้ผ้าม่านโปร่งแสง ที่ช่วยเสริมให้แสงสว่างส่องเข้าห้องได้สะดวกขึ้น

ตำแหน่งการจัดวางโต๊ะทำงานผู้บริหาร
สำหรับตำแหน่งการจัดวางโต๊ะภายในห้องผู้บริหาร ทิศทางเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเสริมฮวงจุ้ยให้กับการทำงานได้ โดยทิศมงคลสำหรับผู้บริหารมีดังนี้

  • ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ การตั้งโต๊ะทิศนี้ช่วยเรื่องโอกาสในการรับงานสำคัญ เปรียบเสมือนมีเทพคอยเกื้อหนุน
  • ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศนี้ช่วยเสริมเรื่องความมีชื่อเสียงเกียรติยศ เหมาะสำหรับผู้บริหารในองค์กรของรัฐ ทิศทางนี้จะช่วยเสริมบารมีในการทำงาน
  • ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตำแหน่งการตั้งโต๊ะในทิศนี้ ช่วยเสริมพลังความคิด เหมาะสำหรับผู้บริหารที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์
  • ทิศตะวันตก ในด้านทิศตะวันตกช่วยเสริมเรื่องการจัดปัญหาและอุปสรรค์ในการทำงาน ทำให้การบริหารงานราบรื่น

การออกแบบห้องประชุมตามหลักฮวงจุ้ย

ห้องประชุมเป็นพื้นที่สำคัญในองค์กร การดำเนินงาน การตัดสินใจเรื่องสำคัญที่ขับเคลื่อนองค์กรล้วนเกิดขึ้นในพื้นที่แห่งนี้ ดังนั้นฮวงจุ้ยที่ดีจึงสำคัญที่ช่วยเป็นพลังงานดีเสริมภายในองค์กร

ออกแบบตำแหน่งการนั่งของประธานกับฮวงจุ้ยห้องประชุม

ประธานหรือผู้บริหารถือเป็นประมุขขององค์กร ดังนั้นการออกแบบฮวงจุ้ยห้องประชุมให้เสริมพลังงานดีแก่ผู้นำองค์กรถือเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับตำแหน่งของประธานการประชุม ควรตั้งในทิศเหนือ (ทิศเต่าดำ) เก้าอี้ที่ใช้ควรเป็นแบบพนักพิงสูง มีที่เท้าแขนทั้งสองข้างเปรียบดังบัลลังก์ของจักรพรรดิ

ถอดรหัสฮวงจุ้ยกับตำแหน่งทิศทางการนั่งของประธาน

  • ทิศเต่าดำ หมายถึงความมั่งคั่ง การให้ประธานนั่งตำแหน่งทิศนี้ช่วยเสริมความมั่งคั่ง ร่ำรวยให้กับองค์กร เหมาะสำหรับห้องประชุมของภาคเอกชน ส่วนภาครัฐทิศที่เหมาะสมคือ ทิศเสือขาว (ทิศตะวันตก) จะเสริมเรื่องอำนาจการปกครองผู้ใต้บังคับบังชา
  • เก้าอี้พนักพิงสูง ช่วยเสริมความสง่างาม ความน่าเกรงขามให้กับประธาน
  • ที่เท้าแขนเก้าอี้สองข้าง เสริมฮวงจุ้ยโดย ตำแหน่งการนั่งทิศเต่าดำ ที่ท้าวแขนสองข้างจึงเปรียบเสมือนมังกรเขียวและเสือขาว โดยมังกรเขียวเสริมเรื่องบารมีส่วนเสือขาวช่วยเสริมอำนาจทิศทางฮวงจุ้ยห้องประชุมกับธาตุทั้ง 5ศาสตร์ของฮวงจุ้ยกับการเสริมพลังงานดี สามารถลงลึกรายละเอียดได้ถึงระดับบุคคล โดยในแต่ละคนจะมีธาตุประจำตัวที่แตกต่างกันตามธาตุทั้ง 5 ได้แก่ ธาตุน้ำ, ธาตุไฟ, ธาตุไม้, ธาตุทองและธาตุดิน ซึ่งแต่ละธาตุมีความหมายดังนี้
    • ธาตุน้ำ หมายถึงผู้ประสาน ศูนย์รวมใจของทุกคน
    • ธาตุไฟ หมายถึง ผู้วางกฎระเบียบ
    • ธาตุไม้ หมายถึง ผู้มีความคิดสร้างสรรค์
    • ธาตุทอง (ธาตุเหล็ก) หมายถึง ผู้เป็นตัวกลางในการประนีประนอม
    • ธาตุดิน หมายถึง ผู้ที่มีความหนักแน่นและมีความเชื่อมั่นในตนเอง

    สำหรับบริบทนี้มุ่งเน้นไปที่การออกแบบห้องประชุมกับธาตุของผู้นำองค์กรและประธานการประชุม โดยในการออกแบบห้องประชุมให้สอดรับกับธาตุของผู้นำ สามารถทำได้โดยการจัดตำแหน่งทิศทางการนั่งดังนี้

    • ทิศเหนือ เหมาะสำหรับคนธาตุน้ำ
    • ทิศใต้ เหมาะสำหรับคนธาตุไฟ
    • ทิศตะวันออก เหมาะสำหรับคนธาตุไม้
    • ทิศตะวันตก เหมาะสำหรับคนธาตุทอง
    • ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เหมาะสำหรับคนธาตุดิน

    ทั้งนี้ทิศทางการนั่งภายในห้องประชุมแบบออดิทอเรียม (auditorium) จะแตกต่างจากห้องประชุมประเภทอื่น อาทิ ห้องประชุมบอร์ดรูม (boardroom) หรือห้องประชุมแบบวอร์รูม (warroom) ที่สามารถกำหนดตำแหน่งการนั่งได้ตายตัว ดังนั้นการจัดตำแหน่งฮวงจุ้ยในห้องประชุมแบบออดิทอเรียม จึงเปลี่ยนจากการนั่งเป็นตำแหน่งการจัดวางโพเดียม (podium) ให้เป็นไปตามทิศที่เหมาะสมของแต่ละธาตุแทน

    หลักการออกแบบด้วยหลักสัปปายะ 7 ประการ

    สัปปายะ หมายถึง สภาพแวดล้อมที่สบายทั้งสบายกายและสบายใจแก่ผู้อาศัย ดังนั้นหลักสัปปายะจึงเป็น หลักที่ว่าด้วยการออกแบบสภาพแวดล้อมให้สบาย สำหรับการออกแบบห้องประชุมหลักสัปปายะเกี่ยวข้องโดยตรงกับความสะดวกสบายของผู้ใช้งานห้องประชุม เพราะนอกจากฮวงจุ้ยด้านตำแหน่งและทิศทางแล้ว ความสะดวกสบายยังสร้างพลังงานที่ดีทางกายภาพอีกด้วย โดยหลักสัปปายะ 7 ประการมีดังนี้

    1. อาวาส
    อาวาสหมายถึง สถานที่และอุปกรณ์ โดยสถานที่ต้องมีความแข็งแรง พร้อมใช้งาน ไม่ชำรุดทรุดโทรม สำหรับการออกแบบห้องประชุม สามารถปฏิบัติตามในข้ออาวาสด้วยการเลือกวัสดุที่มีความแข็งแรงและปรับปรุงห้องประชุมให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

    2. อุตุ
    อุตุหมายถึง อากาศ ซึ่งในการออกแบบอากาศเป็นสิ่งสำคัญ โดยอากาศต้องเป็นอากาศที่ดี บริสุทธิ์ ปราศจากกลิ่นอับ ต้องหายใจได้สะดวก สำหรับการออกแบบห้องประชุม แม้ว่าเป็นพื้นที่ปิดแต่สามารถวางระบบปรับอากาศและระบบระบายอากาศให้ผู้เข้าประชุมรู้สึกสบายและหายใจสะดวก

    3. โคจร
    โคจรคือฟังก์ชันการใช้งานที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน สำหรับการออกแบบห้องประชุมจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ใช้งานห้องประชุม ตัวอย่างการออกแบบตามหลักโคจร อาทิ ทางเดินระหว่างที่นั่งที่กว้างขว้าง หรือขั้นบันไดที่ออกแบบเพื่อการเดินที่ถูกต้องตามสรีระศาสตร์

    4. โภชนา
    โภชนาคือ ความสะดวกสบายในการใช้งานพื้นที่ สำหรับการออกแบบห้องประชุมในส่วนโภชนาคือ การใช้งานพื้นที่ในด้านติดต่อสื่อสาร อาทิ ระบบการสื่อสารระหว่างผู้เข้าประชุมกับผู้นำเสนอข้อมูล เป็นต้น

    5. ผัสสะ
    ผัสสะหมายถึง สภาพแวดล้อมของผู้ใช้งานพื้นที่ ทั้งสีสัน เสียงและแสง สำหรับห้องประชุมผัสสะนั้นคือ ระบบโสตทัศนูปกรณ์ แสง เสียง ภาพ และอะคูสติกส์ ดังนั้นการออกแบบห้องประชุมให้สอดรับกับผัสสะ คือการออกแบบระบบโสตฯ ที่มีความทันสมัยและระบบอะคูสติกส์ที่มีประสิทธิภาพในการรองรับการประชุม

    6. บุคคลา
    บุคคลาหมายถึง บุคคลเข้าไปใช้งานในสถานที่ ซึ่งในที่นี้หมายถึงผู้เข้าร่วมประชุม

    7. อิริยาบถ
    การออกแบบอิริยาบถหมายถึง รสนิยมหรือสไตล์ความชอบที่นำมาใช้ในการออกแบบ ทั้งนี้ในแต่ละบุคคลมีรสนิยมที่แตกต่างกัน แต่จะมีความเชื่อมโยงกัน อาทิ คนฝั่งตะวันตกนิยมเรื่องเทคโนโลยี ส่วนคนฝั่งตะวันออกนิยมความเรียบง่าย เป็นต้น

    สีสันช่วยเสริมบรรยากาศ

    สีสันหรือเฉดสีภายในห้องเชื่อมโยงกับธาตุของผู้บริหารองค์กร รวมถึงช่วยเสริมบรรยากาศและความรู้สึกภายในห้องประชุม โดยในแต่ละสีสามารถเชื่อมโยงกับธาตุได้ดังนี้

    • ธาตุน้ำ ถูกโฉลกกับสีดำ สีเทา สีน้ำเงินและสีฟ้า โดยสีเหล่านี้ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย สงบนิ่ง
    • ธาตุไฟ ถูกโฉลกกับสีแดง สีชมพูและสีม่วง ทั้งสามสีช่วยกระตุ้นความกระตือรือร้น
    • ธาตุไม้ ถูกโฉลกกับสีเขียวอ่อน สีเขียวแก่และสีน้ำตาลอ่อน ซึ่งให้ความรู้สึกถึงการเติบโตและให้ความสดชื่น
    • ธาตุทอง (ธาตุเหล็ก) ถูกโฉลกกับสีขาว สีเงิน สีทองและโลหะมันวาว แสดงให้เห็นถึงความรวดเร็ว ความทันสมัย
    • ธาตุดิน ถูกโฉลกกับสีเหลือง สีส้ม สีน้ำตาลและสีครีม ให้ความรู้สึกถึงความมั่นคงและหนักแน่น

    สำหรับการเลือกใช้สีเพื่อเสริมฮวงจุ้ยภายในห้องประชุม นอกเหนือจากการทาสีผนังแล้ว การเลือกวัสดุตกแต่งที่ใช้ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเสริมฮวงจุ้ยที่ดีได้ อาทิ คนธาตุน้ำกับเหล็ก ธาตุไม้กับไม้หรือธาตุไฟกับกระจก เป็นต้น

      มารยาทในการใช้ห้องประชุม
    1. มาก่อนเวลา อันนี้ถือเป็นมารยาทการใช้ห้องประชุมหรือสัมมนาอย่างหนึ่ง ซึ่งคุณควรจะมาก่อนเวลาเริ่มประชุม เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าห้องประชุม ซึ่งคุณจะมีเวลาทำธุระส่วนตัว ให้เรียบร้อย และการมาก่อนเวลา หรือเข้าร่วมประชุมตามเวลานั้น จะทำให้คุณไม่พลาดเนื้อหาสำคัญๆ ในการพรีเซนต์อีกด้วย
    2. ห้ามส่งเสียงดัง การประชุม ไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ตาม ทุกคนควรให้เกียรติ และเป็นผู้ฟังที่ดี สนใจกับเนื้อหาการประชุม หรือสัมมนา ซึ่งถือเป็นมารยาทอย่างหนึ่งที่ทุกคนควรมี และการงดใช้เสียงดังยังเป็นการรักษาบรรยากาศ กับผู้ร่วมประชุมท่านอื่น
    3. ปิดเครื่องมือสื่อสาร ก่อนเข้าร่วมประชุม ควรปิดเครื่องมือสื่อสาร หรือปิดเสียง เปิดสั่น เพื่อไม่เป็นการก่อความรำคาญ และทำลายบรรยากาศการประชุม หรือสัมมนา
    4. ตั้งใจฟังในสิ่งที่พูดนำเสนอ ทุกๆท่านที่เข้าร่วมประชุม ควรตั้งใจฟังเนื้อหา ที่ผู้นำเสนอตั้งใจเตรียมมา และเก็บเกี่ยวความรู้ หรือเนื้อหาการประชุมให้ได้มากที่สุด เพื่อต่อยอดการนำข้อมูลไปใช้ต่อ หรือร่วมแก้ปัญหา ในหัวข้อที่นำมาเข้าประชุม
    5. เก็บเก้าอี้ให้เรียบร้อยก่อนออกจากห้องประชุม อันนี้ถือเป็นเกล็ดเล็กๆน้อยๆ ที่จะทำให้ทุกๆคนมองคุณดียิ่งขึ้น เสริมสร้างภาพลักษณ์ และบุคลิกให้ดูน่าเคารพ ด้วยสิ่งเล็กๆที่คุณทำ เปรียบเสมือน คุณให้เกียรติ และเป็นคนเรียบร้อย ที่ใส่ในใจรายละเอียดเล็กๆ
    6. มารยาทในการถามคำถาม ช่วงการถามคำถาม หรือซักถามข้อสงสัย นั้น ต้องดูจังหวะให้ดี เพื่อไม่ให้เป็นการขัดจังหวะการนำเสนอ ของผู้นำเสนอ อาจจะถามในช่วง ต่างๆได้ เช่น ยกมือถามคำถาม ,รอให้จบหัวข้อนั้นๆก่อน รอให้จบการนำเสนอ หรือผู้นำเสนอ เปิดโอกาสให้ถามคำถาม เพื่อรักษามารยาท และบรรยากาศการประชุม
     การดูแลรักษาเก้าอี้ห้องประชุม
    1. หลีกเลี่ยงแดดส่องบนเก้าอี้ตาข่ายเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้า หรือตาข่ายซีดจาง และอาจทำให้ฟองน้ำและเนื้อผ้าเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร และไม่ควรวางเก้าอี้ตาข่ายไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง เพราะความชื่นอาจทำให้เกิดราขึ้นที่เนื้อผ้าได้
    1. หากทำน้ำหรือเครื่องดื่มหกเลาะเก้าอี้ให้เช็ดด้วยผ้าสะอาดหรือฟองน้ำทันที และถ้าเป็นคราบให้เช็ดด้วยน้ำสบู่เจือจาง แล้วเช็ดด้วยผ้าหมาด ๆ แล้วผึ่งลมให้แห้ง
    1. ระมัดระวังของมีคม หรืออุปกรณ์สำนักงานที่มีปลายแหลม อย่างเช่นปากกา หรือ คัตเตอร์ โดนผ้าเบาะ หรือผ้าตาข่าย
      อาจทำให้ผ้าฉีกขาดเกิดความเสียหายได้
    1. ทำความสะอาดเก้าอี้อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ผ้าสะอาด ทำความสะอาด เช็ดฝุ่นที่เกาะอยู่ตามเก้าอี้ นอกจากนี้ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดตามซอกต่างๆ ด้วย และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาเคมีในการทำความสะอาด เพราะอาจจะทำให้เก้าอี้เกิดความเสียหายได้

    นอกจากการดูแลในเบื้องต้นแล้ว ก่อนซื้อ เก้าอี้สำนักงาน ควรเลือกเก้าอี้สำนักงาน ที่มีคุณภาพ ใช้วัสดุทนทาน สามารถรองรับการใช้งานได้ดี และควรเลือกเก้าอี้ที่มีการรับประกันสินค้า เผื่อเกิดความเสียหาย

กลับสู่หน้าหลัก  – songkhlalaow

Comments

แสดงความคิดเห็นที่นี้

Powered by Facebook Comments

More in เก้าอี้

เก้าอี้บาร์ปรับระดับได้

adminกันยายน 5, 2022

โต๊ะทํางาน ราคา

adminสิงหาคม 25, 2022
เก้าอี้ คอมพิวเตอร์

เก้าอี้ คอมพิวเตอร์

adminสิงหาคม 19, 2022
เก้าอี้บาร์ ราคาถูก

เก้าอี้บาร์ ราคาถูก

adminกรกฎาคม 25, 2022
เก้าอี้นั่งสบาย

เก้าอี้นั่งสบายเพื่อสุขภาพและเทคนิคการเลือกซื้อ

adminพฤศจิกายน 16, 2021
เก้าอี้เพื่อสุขภาพ

เก้าอี้เพื่อสุขภาพ หลากหลายรูปแบบที่เราควรเลือกใช้

adminพฤศจิกายน 15, 2021
เก้าอี้คอมพิวเตอร์

เก้าอี้คอมพิวเตอร์ ราคาถูก เลือกให้เหมาะกับเรา

adminพฤศจิกายน 15, 2021
เก้าอี้เคาน์เตอร์บาร์

เก้าอี้เคาน์เตอร์บาร์แบบไหนดี

adminพฤศจิกายน 4, 2021
เก้าอี้ออฟฟิศซินโดรม

เคล็ดลับการเลือกเก้าอี้ออฟฟิศซินโดรม

adminพฤศจิกายน 3, 2021