อื่นๆ

ไบโพล่าคือ ทำความรู้จักกับโรคไบโพล่าร์

อื่นๆ

ไบโพล่าคือ ทำความรู้จักกับโรคไบโพล่าร์

ไบโพล่าคือ “เดี๋ยวดี..เดี๋ยวร้าย ท่าจะบ้า”
“ดราม่าอะไรขนาดนั้น..”
“สงสัยเป็นไบโพลาร์แหละมั้ง”
คำพูดติดปาก ที่คอยล้อเล่นหรือว่ากล่าวเวลาเจอคนอารมณ์แปรปรวน จนอาจเป็นการเข้าใจผิดว่า  “โรคไบโพลาร์” นั้นไม่ได้อันตราย ไม่มีอยู่จริงและคิดว่ามันก็แค่อาการของคนอารมณ์ไม่ดีก็เท่านั้น แต่จริงๆแล้ว โรคไบโพลาร์มันอันตรายและใกล้ตัวเรามาก วันนี้ Agnos จึงอยากพาทุกๆคนไปรู้จักกับโรคนี้กัน !

ไบโพลาร์ (Bipolar Disorder)
ไบโพลาร์ (Bipolar Disorder)

โรคไบโพล่าร์ คือโรคอะไร ?

ไบโพล่าคือ โรคอารมณ์สองขั้ว คือโรคที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติของอารมณ์ ที่เกิดจากสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุลกัน และผู้ป่วยโรคไบโพลาร์จะมีความผิดปกติทางอารมณ์สองแบบเปลี่ยนแปลงไปมาสลับกัน คือ อารมณ์ดี หรือก้าวร้าวผิดปกติ (mania) และอารมณ์ซึมเศร้า (depressed) โรคนี้จึงมีชื่อเดิมว่า manic-depressive disorder ผู้ป่วยสามารถมีอาการทั้งสองด้าน หรือ ด้านเดียวก็ได้ และไม่ใช่อาการ “เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย” อย่าที่หลายๆคนพูดกัน

อาการไบโพล่าร์ คืออะไร แบ่งได้กี่อารมณ์ ?

อาการของโรคไบโพลาร์ สามารถแบ่งเป็นอารมณ์หลักๆได้ 2 อารมณ์ คือ อารมณ์ดี หรือก้าวร้าวผิดปกติ (Manic Episode)

  • พูดเร็ว พูดมาก พูดไม่ยอมหยุด
  • ความคิดแล่นเร็ว มีหลายความคิดเข้ามาในสมอง
  • รู้สึกว่าตนมีความสำคัญหรือมีความสามารถมาก
  • นอนน้อยกว่าปกติมาก โดยไม่มีอาการเพลียหรือต้องการนอนเพิ่ม
  • สมาธิลดลง เปลี่ยนความสนใจ เปลี่ยนเรื่องพูดหรือการกระทำอย่างรวดเร็ว
  • การตัดสินใจเสียไป เช่น ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย ทำเรื่องที่เสี่ยงอันตรายหรือผิดกฎหมาย ไม่ยับยั้งชั่งใจในเรื่องเพศ

อารมณ์เศร้า (Depressive Episode)

  • รู้สึกซึมเศร้า ซึ่งอารมณ์เศร้าจะมีอยู่เกือบตลอดทั้งวันและเป็นทุกวันบางวันอาจเป็นมากบางวันอาจเป็นน้อย
  • รู้สึกเบื่อ ขาดความสนใจหรือความเพลิดเพลินในกิจกรรมต่างๆที่เคยชอบทำ
  • ปัญหาการกิน มักจะเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง หรือบางรายอาจมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้นผิดปกติ กินมากจนน้ำหนักเพิ่ม
  • ปัญหาการนอน มักนอนไม่หลับ หรือบางรายจะหลับมากกว่าปกติ ง่วงนอนทั้งวัน
  • ทำอะไรเชื่องช้า พูดช้า เคลื่อนไหวช้าลง
  • รู้สึกอ่อนเพลียหรือไร้เรี่ยวแรง เป็นทั้งวันและแทบทุกวัน
  • รู้สึกตนเองไร้ค่า มักโทษตัวเอง หรือรู้สึกผิดต่อตัวเอง
  • มีปัญหาการใช้สมาธิ หรือมีความคิดความอ่านช้าลง
  • คิดอยากตายไม่อยากมีชีวิตอยู่ คิดถึงเรื่องการตายอยู่เรื่อยๆ หรือบางรายพยายามฆ่าตัวตายหรือมีแผนฆ่าตัวตาย

โดยจะมีอาการเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ (อาการและระยะเวลาจะแตกต่างกันไปตามปัจจัยรอบข้าง)

ไบโพลาร์เกิดจากอะไร และใครเป็นไบโพลาร์ได้บ้าง ?

มีหลายสาเหตุ และปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ แต่ก็ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดนัก

เช่นเดียวกับ โรคซึมเศร้า อาการของโรคไบโพลาร์จะเกิดขึ้นเมื่อมีสารสื่อประสาทในสมอง คือ นอร์อะดรีนาลีน เซโรโทนิน และโดปามีน ในระดับที่ไม่สมดุลกัน ซึ่งจะทำให้มีอารมณ์ดี อยู่ในภาวะร่าเริงผิดปกติ และจะมีภาวะซึมเศร้า เบื่อหน่าย สลับกันไป นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยไบโพลาร์ มีสาเหตุจากพันธุกรรม โดยหากพบว่าในครอบครัวเคยมีคนที่เป็นไบโพลาร์เช่น พ่อหรือแม่เป็น ลูกก็จะมีโอกาสประมาณร้อยละ 15-25 ที่จะเป็นโรคไบโพลาร์ด้วย โดยรวมแล้วโรคไบโพลาร์ พบได้ประมาณ ร้อยละ 1.5 – 5 ของประชากรทั่วไป ช่วงอายุที่มักพบว่ามีอาการครั้งแรก คือ ช่วง 15 – 19 ปี แต่ผู้ป่วยบางคนอาจเริ่มมีอาการในระยะก่อนเข้าวัยรุ่นหรือวัยรุ่นตอนต้น โดยการเจ็บป่วยครั้งแรก อาจมีความตึงเครียดในชีวิตเป็นปัจจัยกระตุ้น เช่นการเสียชีวิตของคนในครอบครัว คนที่รัก ผิดหวังจากความรัก การเรียน หรือการงานเป็นต้น

การรักษา

โรคไบโพลาร์สามารรักษาให้หายได้ โดยหลักๆแล้วการรักษาจะเป็นการรักษาด้วยยา  โดยแพทย์จะให้ยารักษาทางจิตเวชเพื่อปรับสารสื่อประสาทและควบคุมอารณ์ อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรทำควบคู่กันเพื่อผลดีในระยะยาว คือการทำจิตบำบัด หรือกิจกรรมบำบัด รวมถึงการรักษาแบบ CBT (Cognitive Behavior Therapy) เพราะจิตแพทย์จะสามารถค้นหาว่า อะไรคือสาเหตุของการเกิดโรคไบโพลาร์นอกเหนือจากเรื่องกรรมพันธุ์

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการรักษา คือกำลังใจ การช่วยเหลือ และความเข้าใจจากคนรอบข้าง มีปัจจัยมากมายที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการกลับมาใหม่ เช่นภาวะเครียดมาก การอดนอน หรือการขาดยา ทำให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากคนรอบข้างเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคนี้

 

โรคไบโพลาร์สามารถหายได้ จากการรับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา เพราะฉะนั้นการดูแลและสังเกตสุขภาพจิตของตัวเองนั้น สำคัญพอๆกับสุขภาพร่างกายของเรา

Agnos สนับสนุนให้คนไทยทุกคนหมั่นตรวจเช็กสุขภาพจิตของตัวเองและคนรอบข้าง เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง และทันเวลา

Agnos วิเคราะห์ได้ทั้งอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย และอาการด้านจิตใจ ด้วย AI วิเคราะห์โรคด้วยตนเอง โดยวิศวกรไทยจาก MIT และทีมแพทย์มืออาชีพจาก Agnos สามารถทดลองใช้งานได้ฟรี

โหลดเลยที่ 📲 http://onelink.to/2fryfd

อ้างอิง
https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1105
https://www.manarom.com/blog/bipolar.html
https://www.bangkokhospital.com/content/2-types-bipolar-disorder
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/bipolar-disorder
https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95/Bipolar-Disorder

Comments

แสดงความคิดเห็นที่นี้

Powered by Facebook Comments

More in อื่นๆ

ฟิล์มกรองแสง

999 Autoplace ติดฟิล์มรถยนต์และอาคาร ท่าพระ ร้านใหญ่ฝั่งธน

adminมีนาคม 25, 2024
วีซ่าจีน

รับทำวีซ่าชาวจีน

adminมีนาคม 24, 2024
รับทำวีซ่าออสเตรเลีย

รับทำวีซ่าออสเตรเลีย

adminมีนาคม 24, 2024
รับทำวีซ่าอเมริกา

รับทำวีซ่าอเมริกา

adminมีนาคม 24, 2024
รับทำวีซ่ายุโรป

รับทำวีซ่าเชงเก้น | รับทำวีซ่ายุโรป

adminมีนาคม 23, 2024
ร้านอาหาร

ข้าวมันเป็ด Quackquack

adminมีนาคม 22, 2024
รับทำวีซ่าอังกฤษ

บริการวีซ่าอังกฤษ (สหราชอาณาจักร)

adminมีนาคม 20, 2024
mesub

บริการทัวร์ mesub travel

adminมีนาคม 18, 2024

Bangkok Smile Dental Clinic

adminมีนาคม 16, 2024