เก้าอี้ออฟฟิศซินโดรม – อาการปวดหลัง เป็นปัญหากวนใจของพนักงานออฟฟิศ เพราะต้องนั่งทำงานหน้าคอมเป็นเวลานาน แม้ว่าปัจจุบันจะมีวิธีการรักษาหลายรูปแบบแต่การป้องกันก็สำคัญไม่แพ้กัน เริ่มจากการเลือกเก้าอี้สุขภาพที่ออกแบบมาเพื่อช่วยป้องกันการนั่งผิดท่า เพราะร่างกายแต่ละคนนั้นต่างกัน เราจึงต้องเลือกหาเก้าอี้สุขภาพที่เหมาะกับตัวเอง
ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร
เป็นอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดอันเนื่องมาจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมๆซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน เช่นการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานเกินไปโดยไม่ขยับ รวมไปถึงอาการชาที่บริเวณแขนหรือมือ จากการที่เส้นประสาทปลายถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง
สาเหตุของออฟฟิศซินโดรม
จากพฤติกรรมซ้ำเดิม การนั่งทำงานในอิริยาบถเดิมนานๆ โดยไม่มีการขยับปรับเปลี่ยนท่าทาง การนั่งทำงานด้วยท่าที่ไม่ถูกต้อง หรือนั่งเก้าอี้ที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น เก้าอี้เตี้ยหรือสูงเกินไป ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว
นอกจากนี้การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นานจนเกินไป การเพ่งใช้สายตานานๆ การปรับแสงหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสม รวมถึงการทำงานหนักเกินไป พักผ่อนน้อย ความเครียดและวิตกกังวลก็เป็นสาเหตุของกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมเช่นกัน
สัญญานเตือนว่าคุณอาจจะเป็นออฟฟิศซินโดรม
1.ทำงานอยู่ดีๆมือก็ชา
2.ปวดหัวหนักมาก
3.ปวดหลัง
4.รู้สึกปวดแสบขณะปัสสาวะ
5.ตาพร่ามัวขณะทำงานหน้าคอมพิวเตอร์
อาการของออฟฟิศซินโดรม
อาการส่วนใหญ่ของกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมอาจแตกต่างกันไป ขึ้นกับแต่ละบุคคล โดยอาการส่วนใหญ่มีดังนี้
- ปวดเมื่อยหรือเกร็งตามกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น คอ บ่า ไหล่ หลัง ต้นคอ แขน ข้อมือ นิ้วมือ เกิดจากการนั่งทำงานในท่าเดิมนานๆ กล้ามเนื้อหดเกร็งมากเกินไป อาจรุนแรงขึ้นและกลายเป็นอาการเรื้อรัง
- เจ็บ ตึง หรือชาตามอวัยวะต่างๆ เรื้อรัง เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ มีเอ็นอักเสบทับเส้นประสาท หรือเส้นประสาทตึงตัวจนกลายเป็นอาการชาตามมือ แขน เส้นยึด และนิ้วล็อกในที่สุด
- เหน็บชา แขนขาอ่อนแรง เกิดจากนั่งนานเกิดไปทำให้กดทับเส้นประสาท การไหลเวียนเลือดผิดปกติ มักมีอาการชาบริเวณนิ้วกลาง นิ้วนาง หรือปวดบริเวณข้อมือ
- นิ้วล็อก เกิดจากการจับเมาส์หรือใช้นิ้วมือกดโทรศัพท์มือถือในท่าเดิมระยะเวลานานๆ มีอาการเส้นเอ็นอักเสบหรือปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมืออักเสบ ทำให้เส้นเอ็นหนาขึ้นและไม่สามารถเหยียดนิ้วมือได้ตามปกติ
- ปวดศีรษะ มีอาการปวดตุ๊บๆ คล้ายไมเกรน อาจปวดร้าวไปถึงตา เกิดจากการใช้สายตาในการทำงานมาก ร่วมกับมีความเครียดสะสม วิตกกังวล และพักผ่อนไม่เพียงพอ
- นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท อาจเกิดจากความเครียด หรืออาการปวดเมื่อยหรือปวดหัวที่รบกวนเวลานอนเป็นระยะ
ภาวะแทรกซ้อนของออฟฟิศซินโดรม
1.เสี่ยงเกิดหมอนรองกระดูกทับเส่นประสาท กระดูกสันหลังคด และแขนขาอ่อนแรง หากรุนแรงมากอาจทำให้เดินไมไ่ด้ ต้องทำกายภาพบำบัด หรือผ่าตัดเลยทีเดียว
2.เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า อันมาจากความเครียดสะสม ความกดดัน และบรรยากาศไม่ดีในที่ทำงาน
3.เสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง จากการรับประทานอาหารจุบจิบในเวลาทำงาน และไม่มีเวลาออกกำลังกาย
เคล็ดลับการปรับพฤติกรรมให้ห่างไกลออฟฟิศซินโดรม
1.ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานใหม่เหมาะสม สะอาด และมีอากาศถ่ายเท เพื่อให้หายใจได้สะดวก
2.เลือกเก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระ ปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ให้สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบายคือให้เท้าจรดพื้น และเข่าตั้งฉากอยู่ในระดับเดียวกับสะโพก
3.หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถทุก ๆ 30 นาที หรือลุกไปยืดเส้นยืดสาย สูดอากาศภายนอกเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและลดความตึงเครียด
4.นั่งเก้าอี้ให้เต็มก้น หลังตรงแนบกับพนักพิง ไม่โน้มตัวเข้าหาหน้าจอ และคอยระวังให้ไหล่อยู่ในท่าธรรมชาติ ไม่นั่งห่อไหล่
5.หากที่นั่งเก้าอี้ลึกเกินไป ควรหาหมอนมาหนุนหลัง เพื่อให้นั่งสบายและหลังตรง
6.ปรับหน้าจอให้ตรงหน้าพอดี และอยู่ในระดับสายตา หรือต่ำกว่าสายตาเล็กน้อย โดยที่ไม่ต้องก้มหรือแหงนคอมากไปเกินไป และกะระยะห่างจากหน้าจอประมาณหนึ่งช่วงแขน
7.แป้นคีบอร์ดควรอยู่ในระดับเดียวกับข้อศอก และใช้เมาส์โดยพักข้อศอกบนที่รองแขน
8.กระพริบตาบ่อยๆ และพักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกๆ 20 นาที
9.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และพยายามผ่อนคลายจากความเครียด อย่าหักโหมกับงานมากเกินไป เพราะความเครียดจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวและเกิดความเมื่อยล้าได้ง่าย
10.ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความทนทาน ต่อท่าทางที่จะทำให้เกิดความเกร็ง ลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และข้อต่อต่างๆ นอกจากนี้ยังดีต่อสุขภาพจิต ในด้านผ่อนคลายความเครียดอีกด้วย
การทำกายภาพบำบัด
1.การซักประวัติและแนะนำวิธีปรับพฤติกรรม แนะนำให้ปรับเปลี่ยนท่าทางการนั่ง การนอน และการใช้ชีวิตประจำวัน
2.การใช้เครื่องอัลตราซาวด์ส่องหาตำแหน่งที่บาดเจ็บ จะช่วยให้ทราบตำแหน่งการรักษาที่แม่นยำยิ่งขึ้น และฉีดยาเพื่อบรรเทาอาการ
3.การใช้เครื่องอัลตราซาวด์ให้ความร้อน นิยมใช้เป็นอันดับแรกๆช่วยบรรเทาอาการปวดเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ
4.การใช้เครื่องดึงคอ เพื่อช่วยยึดกล้ามเนื้อและข้อต่อ เครื่องนี้สามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการหมอนรองกระดูกคอเสื่อม และหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
5.การใช้แผ่นร้อน มักใช้ควบคู่กับวิธีอื่น ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ในระดับหนึ่ง
การรักษาทางเลือก
1.การฝังเข็ม เป็นการฝังเข็มตามหลักการแพทย์แผนจีน โดยยึดตำแหน่งตามจุดลมปราณ
2.การครอบแก้ว เป็นอีกหนึ่งศาสตร์แพทย์แผนจีน โดยใช้แก้วหรือถ้วยซิลิโคนมาไล่อากาศออกด้วยความร้อน จากนั้นนำมาวางครอบบนผิวหนัง เน้นบริเวณเส้นลมปราณ แก้วจะดูดกล้ามเนื้อจนมีเลือดคลั่ง เชื่อว่าวิธีนี้จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ลดอาการปวดเมื่อกล้ามเนื้อบริเวณที่แก้วครอบได้
การป้องกันเบื้องต้น
1.สำหรับคนที่ปวดไหล่ จะเลือกเก้าอี้ที่มีที่พักแขน ซึ่งสามารถปรัลระดับความสูงและองศาให้เหมาะกับร่างกายได้ รองรับการปวดจากยกไหล่สูงจากการวางแขนที่ไม่พอดีได้
2.สำหรับคนที่ปวดคอ จะเลือกเก้าอี้อย่างพนักพิงศีรษะที่ช่วยรองรับคอน้ำหนักจากคอโดยพนักพิงศีรษะที่เหมาะสม
3.สำหรับคนที่ปวดหลัง จะเลือกเก้าอี้สุขภาพควรเลือกที่มีพนักพิงหลังช่วงล่างเพื่อรองรับกระดูกสันหลังไม่ให้เกิดการโค้งงอและรับน้ำหนักของร่างกายมากเกินไป
การปรับท่านั่งเพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม
สำหรับคนทำงานและพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์อย่างน้อยประมาณ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ยากที่จะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดตามคอ บ่า ไหล่ หลัง และเข่า ดังนั้นการปรับเก้าอี้และท่านั่งให้ถูกสุขลักษณะจะช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอาการปวดต่างๆ ได้
1.ควรปรับระดับเก้าอี้ให้พอดีกับส่วนสูงของตัวเอง
ระดับความสูงของเก้าอี้ที่พอดี จะทำให้ไม่ต้องก้มหรือเงยมากเกินไป ทำให้สรีระอยู่ในทิศทางที่ผิดรูปแบบและส่งผลให้เกิดอาการปวด สำหรับการปรับระดับเก้าอี้ควรให้เหมาะพอดีกับส่วนสูง โดยให้เข่าสามารถงอได้ 90 องศา เท้าวางระนาบและทิ้งน้ำหนักได้เท่ากันกับขาทั้งสองข้าง
2.ปรับเลื่อนเบาะรองนั่งให้เข่าทำมุม 90 องศา
นอกจากระดับความสูงแล้ว การปรับเลื่อนเบาะรองนั่งให้พอดีก็สำคัญ ควรปรับให้เบาะรองนั่งมีระยะห่างระหว่างข้อพับเข่ากับเบาะรองนั่งประมาณ 2-3 นิ้ว โดยที่เข่ายังทำมุม 90 องศาอยู่
3.ปรับระดับที่วางแขนให้พอดีกับโต๊ะทำงาน
ที่เท้าแขนก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญไม่น้อยสำหรับเก้าอี้ทำงาน โดยเฉพาะหากคุณต้องนั่งทำงานนานๆ แบบที่ไม่มีที่เท้าแขน ก็อาจจะทำให้คุณเมื่อยได้ โดยที่เท้าแขนก็ควรจะมีระดับที่พอดีกับตัวคุณด้วยเช่นกัน ซึ่งนอกจากที่เท้าแขนจะช่วยให้คุณสะดวกสบายมากขึ้นแล้ว ก็ยังสามารถใช้สำหรับการพยุงตัวเวลาลุกนั่งได้อีกด้วย
4.ปรับเบาะรองศีรษะให้พอดีกับคอ
เบาะรองศีรษะจะช่วยให้ลำคอ และศีรษะอยู่ในท่าตรง ลดอาการเมื่อยล้าจากการนั่งจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยระดับศีรษะ ระดับสายตา ควรพอดีกับระดับจอของคอมพิวเตอร์ เพื่อไม่ให้ก้มหรือเงยคอมากเกินไป
5.ปรับพนักพิงให้รองรับหลังส่วนล่าง
เก้าอี้ควรสามารถปรับพนักพิงให้รองรับหลังส่วนล่างได้ และต้องปรับเอนเมื่อต้องการพักผ่อนระหว่างวัน
6.มีหมอนเสริม
ใครที่นั่งทำงานนานๆ แล้วชอบปวดคอ เราก็ขอแนะนำให้คุณเลือกเก้าอี้ทำงานแบบที่มีหมอนเสริม แถมหมอนเสริมยังช่วยให้สรีระของคุณพอดีกับเก้าอี้ได้ ในกรณีที่เก้าอี้ที่คุณซื้อมาไม่พอดีกับสรีระ หรือเบาะมีความลึกจนเกินไป หมอนเสริมก็จะช่วยหนุนสรีระของคุณให้มีความพอดีมากขึ้นนั่นเอง
เทคนิคการเลือกเก้าอี้ออฟฟิศซินโดรมในการนั่งทำงาน
1.การเลือกทำงานไม่ให้เป็นออฟฟิศซินโดรม ต้องเลือกจากขนาดเบาะรองนั่ง ขนาดที่เหมาะสมคือเมื่อนั่วแล้วเท้าต้องวางสัมผัสพื้นพอดี ไม่ลอย หรือดูง่ายๆคือมีความสูงเท่ากับขาท่อนล่างของผู้นั่งหรือความสูง 18 นิ้วโดยประมาณ
2.การเลือกเก้าอี้ทำงานให้ไม้เป็นออฟฟิศซินโดรม ต้องเลือกจากพนักพิงที่ดีจะต้องมีความสูงไม่น้อยกว่าขอบล่างของสะบัก และต้องมีส่วนโค้งที่รับกับสรีระของหลัง พนักต้องตรง เมื่อพิงแล้วต้องไม่เอนมากเกินไปพนักพิงที่ไม่เหมาะคือสาเหตุสำคัญของอาการปวดหลัง
3.การเลือกเก้าอี้ทำงานให้ไม่เป็นออฟฟิศซินโดรม ต้องเลือกจากที่วางแขนต้องไม่เล็กหรือใหญ่เกินไปจนเกะกะ ความสูงของที่วางแขนก็มีความสำคัญ เมื่อวางแขนแล้วต้องไม่ทำให้ไหล่ห่อหรือไหล่ยก ที่วางแขนที่ความสูงไม่เหมาะสมคือตัวการของอาการปวดคอและบ่า
วิธีการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซิมโดรม
- รักษาด้วยยา
- ทำกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมือกายภาพบำบัดตามความเหมาะสมของอาการเช่น อัลตร้าซาวด์ เลเซอร์รักษา การกระตุ้นไฟฟ้า และการประคบร้อน การยืดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
- ฝังเข็ม บรรเทาอาการปวด และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
- การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
- การปรับสภาพแวดล้อมการทำงาน ท่าทางการทำงาน และพฤติกรรมการทำงานให้ถูกต้องตามอิริยาบถ
นอกเหนือจากการรักษาที่กล่าวมาแล้วในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการรักษาอาการปวดด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย คือ
- การรักษาด้วยคลื่นรักษาแบบรวมพลังงาน Focused shockwave therapy
- การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Peripheral Magnetic Stimulation (PMS)
ซึ่งช่วยรักษาอาการปวดจากออฟฟิศซินโดรมได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
รู้แบบนี้แล้วก็อย่าลืมเลือก เก้าอี้ออฟฟิศซินโดรม ตามคำแนะนำที่เราได้แนะนำไปข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกความสูงที่มีความเหมาะสม การเลือกเบาะที่ไม่นุ่มหรือแข็งจนเกินไป การเลือกเก้าอี้ที่มีที่พักแขน และเลือกเก้าอี้ที่มีหมอนเสริม เพียงเท่านี้เราก็จะได้เก้าอี้ที่เหมาะแก่การทำงาน และสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหลังปวดคอได้ด้วยเช่นกัน
กลับสู่หน้าหลัก Songkhlalaow
Comments
Powered by Facebook Comments
Facebook
Google+
RSS