บ้านมือสอง ราคาถูก-สินเชื่อบ้าน สวัสดิการ รายย่อย ปี 2561 จาก ธอส.
บ้านมือสอง ราคาถูก–สินเชื่อบ้าน สวัสดิการ รายย่อย ปี 2561 จาก ธอส. สวัสดีค่ะ วันนี้เรานำ สินเชื่อบ้าน สวัสดิการรายย่อยของทาง ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. ให้กับท่านใดที่กำลังมองหาอยู่นะคะ โดยสินเชื่อบ้านสวัสดิการ/รายย่อย ปี 2561 นี้ รับดอกเบี้ย ปีแรก MRR-3.95% ต่อปี หรือเท่ากับ 2.80 % ต่อปีกันเลยทีเดียว ไปดูกันเลยค่ะว่ามีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดอะไรบ้าง
สินเชื่อบ้าน กับ คุณสมบัติผู้ยื่น
เป็นลูกค้ารายย่อยทั่วไป และ ลูกค้าสวัสดิการไม่มีเงินฝาก
เอกสาร
เอกสารส่วนบุคคล
- บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้า บ้าน
- สำเนาทะเบียนสมรส / ใบหย่า / ใบมรณะบัตร/ ใบแจ้งความแยกกันอยู่
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล
- สำเนาบัตรประจำตัว ประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี)
เอกสารทางการเงิน
พนักงานประจำ
- ใบรับรองเงินเดือน / หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการ
- สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
- สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน (กรณีอาชีพประจำ)
ผู้ประกอบอาชีพอิสระ
- สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน/หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมเอกสารฉบับจริง)
- สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วน
- หลักฐานการเสียภาษีเงินได้
- รูปถ่ายกิจการ
- สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
เอกสารหลักประกัน
- สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย / สัญญาวางมัดจำ / สัญญาเช่าซื้อการเคหะและหนังสือรับรองยอดคงเหลือ ( กรณีซื้อ)
- สำเนาสัญญากู้เงิน และ สำเนาสัญญาจำนองกับสถาบันการเงินเดิม (กรณีไถ่ถอนจำนอง)
- ใบเสร็จการผ่อนชำระหรือบัญชีหมุนเวียนย้อนหลัง 1 หรือ 2 ปี (กรณีไถ่ถอน)
- หลักฐานการเป็นเจ้าของอาคาร
- สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน
- สำเนาโฉนดที่ดิน/นส.3ก /หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด/อช.2 ทุกหน้า
- ใบอนุญาตปลูกสร้าง / ต่อเติม
- แบบแปลน
- ใบประมาณการปลูกสร้าง / สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง
กู้บ้านต้องรู้ เรื่องที่ 2 : ดอกเบี้ยคงที่ & ดอกเบี้ยลอยตัว คืออะไร ?
หลังจากที่เราทราบกันแล้วว่า อัตราดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านนั้นเป็นได้ทั้ง MLR และ MRR จากบทความ กู้บ้านต้องรู้ เรื่องที่ 1 ที่ผ่านมาในบทความนี้ จะขออธิบายเรื่องราวของดอกเบี้ย ว่าลักษณะดอกเบี้ยคงที่ & ดอกเบี้ยลอยตัว เป็นอย่างไร มีการคิดคำนวณ ภาระดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดขึ้นจากการกู้ธนาคารนั้นแบบไหน ?
ดอกเบี้ยเงินกู้คงที่ (Fixed Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่ได้กำหนดไว้ตายตัวว่าเป็นจำนวนเท่าไหร่ มักเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในสินเชื่ออายุไม่นานนัก เช่น สินเชื่อรถยนต์, สินเชื่อรถมอเตอร์ไซต์ เป็นต้น เพราะ อัตราดอกเบี้ยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจหรือเป็นไปตามต้นทุนการเงินของธนาคารอย่างแท้จริง ดังนั้น กรณีเป็นสินเชื่อบ้านที่มีอายุการกู้ยาวนาน จะใช้วิธีระบุระยะเวลาชัดเจน เช่น ระยะเวลา 3 ปีแรกคิด 4.5% เป็นต้น
ลักษณะการคำนวณดอกเบี้ย จะคิดตามตัวเปอร์เซ็นต์ดอกเบี้ยต่อปี คูณ จำนวนเงินกู้ คูณ จำนวนปีที่กู้ กลายเป็นดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมด เมื่อรวมเข้ากับเงินต้นที่ทำการกู้ยืม แล้วหารเฉลี่ยระยะเวลาการกู้ ผลลัพธ์ออกมาเป็น ค่างวดที่ต้องผ่อนจ่ายในแต่ละเดือน
ดอกเบี้ยเงินกู้ลอยตัว (Floating Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระบุว่าจะใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเป็นอะไร โดยค่าอ้างอิงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามต้นทุนการเงินของนั้นๆ มักเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ถูกนำมาใช้กับสินเชื่อที่มีระยะเวลายาวนานอย่างสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน เช่น MLR , MRR เป็นต้น
ลักษณะการคำนวณดอกเบี้ย จะคิดตามจำนวนเงินต้นคงเหลือ มีวิธีการคิดค่างวดผ่อนที่ซับซ้อน ค่างวดผ่อนแต่ละเดือนจะถูกหักดอกเบี้ยจ่ายออกไปก่อน ส่วนที่เหลือถึงจะเป็นเงินต้น ดังนั้น ค่างวดผ่อนช่วงแรกๆ จึงมีสัดส่วนดอกเบี้ยจ่ายสูงกว่าเงินต้นอย่างมาก สามารถใช้บริการคำนวณอัตโนมัติฟรีได้ที่ การคำนวณสินเชื่อที่อยู่อาศัย
ความแตกต่างของการคำนวณ ดอกเบี้ยคงที่ และดอกเบี้ยลดต้นลดดอก ?
ขออธิบายว่า ดอกเบี้ยจ่ายมากน้อยขึ้นอยู่กับ จำนวนเงินต้นในการยื่นกู้ , ระยะเวลาในการกู้ และ วิธีคิดดอกเบี้ยเงินกู้ด้วย ซึ่ง อัตราดอกเบี้ยคงที่จะมี ความยืดหยุ่นน้อยกว่า อัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอก ที่คำนวณตามเงินต้นคงเหลือ ยิ่งเหลือเงินต้นน้อยลงเท่าไหร่ ดอกเบี้ยก็น้อยลงตามไปด้วย
บ้านคุ้มค่าขอยกตัวอย่าง ความแตกต่างดอกเบี้ยจ่ายรวม 2 ประเภทนี้ ให้ศึกษาเบื้องต้นแบบง่ายๆ ดังนี้
เมื่อสมมติกู้ซื้อทาวน์เฮ้าส์ 2 ล้านบาท โดยธนาคารมีอัตราดอกเบี้ยให้เลือกดังนี้
แบบที่ 1 : อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5 ปีแรก 5.6%
แบบที่ 2 : อัตราดอกเบี้ยลอยตัว แบบลดต้น-ลดดอก 5 ปีแรก MRR -2.20% = 5.6% (สมมติดอกเบี้ย MRR คือ 7.8%)
หลังจาก 5 ปี คิดอัตราดอกเบี้ย MRR -1% ทุกกรณี
เมื่อผ่านการคำนวณแบบง่ายๆแล้ว จะเห็นว่า แบบที่ 2 (ลดต้น-ลดดอก) มีผลรวมดอกเบี้ยจ่ายน้อยกว่า แบบที่ 1 (ดอกเบี้ยคงที่) อย่างชัดเจน เพราะได้รับประโยชน์จากความยืดหยุ่นในการคิดดอกเบี้ยจากฐานเงินต้นที่ลดลงนั้นเอง ทั้งนี้เพื่อความไม่ประมาท ควรศึกษารายละเอียดเงื่อนไขดอกเบี้ยตลอดจนครบอายุสัญญาด้วย
หวังว่าบทความนี้ จะช่วยให้ท่านผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวของ ดอกเบี้ยคงที่ & ดอกเบี้ยลอยตัว รวมทั้งดอกเบี้ยลดต้นลดดอกมากขึ้น เป็นตัวอย่างนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้ และในเรื่องต่อไปลองมาติดตามกันดูว่า ข้อควรรู้ก่อนยื่นกู้ซื้อบ้าน มีอะไรกันบ้าง ?
Comments
Powered by Facebook Comments
Facebook
Google+
RSS