สมุนไพรลดความอ้วน เผยเคล็ดลับลดน้ำหนัก ด้วยการดีท๊อกซ์
สมุนไพรลดความอ้วน เผยเคล็ดลับลดน้ำหนัก ด้วยการดีท๊อกซ์ – ความอ้วนเกิดมาจากปัจจัยหลักๆคือการกินอาหารเข้าไปในร่างกายมากกว่าปริมาณที่ร่างกายต้องการ และการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ทั้งเรื่องเวลาและการเดินทาง จึงเลือกทานอาหารที่ปรุงสำเร็จ อาหารฟาสต์ฟู้ด ที่สำคัญไม่มีเวลาออกกำลังกาย ความเครียดสะสม ซึ่งทำให้อึดอัด ท้องผูก ถ่ายยากนั่งห้องน้ำนาน อ้วน ลงพุง แถมยังเป็นโรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน สิวขึ้น พุงใหญ่ ไขมันสะสม โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคริดสีดวง มะเร็งลำไส้ สมุนไพรพร้อมเฮิร์บ คือสมุนไพรดีท๊อกซ์ ปราบพุง สลายไขมัน กำจัดเซลลูไลท์ โดยไม่ต้องอดอาหาร
หลายคนลดน้ำหนักโดยการอดอาหาร การลดน้ำหนักที่ได้ผลดีที่สุดคือการควบคุมอาหารและออกกำลังกายควบคู่ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความอดทนและความมีวินัยเป็นอย่างมากอีกทั้งต้องใช้ความต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2-3 เดือน จึงทำให้หลายคนท้อแท้ ซึ่งปัญหานี้จะหมดไปเมื่อใช้ พร้อมเฮิร์บ เป็นตัวช่วยลดน้ำหนักโดยไม่ต้องอดอาหาร
สมุนไพรลดความอ้วน Phrom Herb สมุนไพรพร้อมเฮิร์บ ไม่ใช่ยาลดน้ำหนักแต่เราคือสมุนไพรดีท๊อกซ์ หุ่นสวย สุขภาพดีจบครบในหนึ่งเดียว พร้อมเฮิร์บช่วยลดน้ำหนัก ดีท๊อกซ์ของเสีย ลดน้ำตาลในเลือด ชะลอวัย ปลอดภัยอย.22-2-01061-2-0004 เน้นคุณภาพดี ไม่ตามกระแส
เพื่อสุขภาพที่ดีการลดน้ำหนักก็คือ กินอาหารให้ครบทั้ง3 มื้อ หลีกเลี่ยงอาหารทอด มัน หวาน และออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 15-30 นาที และที่สำคัญก่อนนอนอย่าลืมดื่มพร้อมเฮิร์บ สมุนไพร 1 แก้ว ทำแบบนี้ติดต่อกัน 1 เดือนจะเห็นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน ทั้งรูปร่างและผิวพรรณ สมุนไพรลดความอ้วน พร้อมเฮิร์บ
ผลิตภัณฑ์ของพร้อมเฮิร์บมีสมุนไพรหลากหลายที่มีประโยชน์ เช่น
สรรพคุณของมะขามแขก
- ใบและฝักมะขามแขกใช้ปรุงเป็นยาถ่าย ยาระบายได้ดี และช่วยแก้อาการท้องผูกได้ โดยให้นำใบมะขามแขกประมาณ 2 หยิบมือ (ประมาณ 2 กรัม) หรือจะใช้ฝักประมาณ 10-15 ฝัก นำมาต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้วประมาณ 4 นาที และใส่เกลือเล็กน้อยเพื่อช่วยกลบรสเฝื่อน แล้วใช้รับประทานเพียงครั้งเดียว หรืออีกวิธีจะใช้วิธีการบดใบแห้งให้เป็นผง ใช้ชงกับน้ำดื่มก็ได้ สำหรับบางรายที่ดื่มแล้วเกิดอาการไซ้ท้อง หรืออาการปวดมวนท้อง (ใบจะออกฤทธิ์ไซ้ท้องมากกว่าฝัก) ให้แก้ไขด้วยการนำมาต้มรวมกับยาขับลมปริมาณเพียงเล็กน้อย เช่น กานพลู ขิง อบเชย กระวาน เพื่อช่วยบรรเทาอาการไซ้ท้องและเพื่อแต่งรสให้ดีขึ้น (ใบ, ฝัก)
- ใบมะขามแขกช่วยทำให้อาเจียน (ใบ)
- ช่วยถ่ายพิษไข้ (ใบ, ฝัก)
- ช่วยถ่ายพิษเสมหะ (ใบ)
- ช่วยแก้อาการสะอึก (ใบ)
- ช่วยขับลมในลำไส้ (ใบ, ฝัก)
- ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ (ใบ)
- ช่วยถ่ายพิษอุจจาระเป็นมูก (ใบ)
- ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ใบ, ฝัก)
- ใบใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (ใบ)
- ช่วยถ่ายโรคบุรุษ (ใบ)
- ช่วยถ่ายน้ำเหลือง (ใบ)
- ช่วยลดอาการบวมน้ำ (ใบ)
- มีรายงานว่าได้มีการใช้มะขามแขกในคนไข้หลังผ่าตัดคว้านต่อมลูกหมาก และพบว่ามะขามแขกช่วยทำให้ถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะอันพึงประสงค์ได้ดีกว่าการใช้ Milk Of Magnesia (MOM) นอกจากนี้แคลเซียมเซนโนไซต์ ยังช่วยทำให้ผู้ป่วยสูงอายุหลังการผ่าตัดสามารถขับถ่ายอุจจาระได้คล่องยิ่งขึ้น
- ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะขามแขก ช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ ต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ และต้านเชื้อแบคทีเรีย
ประโยชน์ของมะขามแขก
- ปัจจุบันมีการนำมะขามแขกมาแปรรูปเป็นสินค้าอย่างหลากหลาย เช่น มะขามแขกแคปซูล ยาชงสมุนไพรมะขามแขก เป็นต้น
ข้อควรรระวังเกี่ยวกับมะขามแขก
- สำหรับหญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร หรือในหญิงมีประจำเดือน ห้ามรับประทานมะขามแขก แต่สำหรับหญิงให้นมบุตร แม้ว่าสารแอนทราควิโนน (Anthraquinones) จะสามารถผ่านออกมากับน้ำนมได้เมื่อใช้ในขนาดปกติ แต่ว่าความเข้มข้นของสารดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อทารกที่รับน้ำนมแต่อย่างใด จึงสามารถใช้มะขามแขกเป็นยาระบายได้ (แต่ไม่แนะนำให้ใช้) (Reynolds, 1989; Baldwin, 1963)
- ห้ามใช้สมุนไพรมะขามแขกในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี
- มะขามแขกมีฤทธิ์ในการกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ จึงไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเกร็งในช่องท้อง ไส้ติ่งอักเสบ โรคลำไส้ใหญ่ส่วนล่างอักเสบ ลำไส้อุดตัน หรือมีอาการปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ (Reynolds, 1989)
- ผลข้างเคียงมะขามแขก สำหรับบางรายอาจมีอาการไซ้ท้องหรืออาการปวดมวนได้ท้องได้
- การใช้มะขามแขกเป็นยาระบาย ให้กินในช่วงก่อนนอน โดยยาจะออกฤทธิ์ประมาณ 8-10 ชั่วโมงหลังจากรับประทาน โดยตัวยาจะทำให้อุจจาระมีมวลมากขึ้น ทำให้อุจจาระมีลักษณะนิ่ม ขับถ่ายได้สะดวก
- เมื่อใช้ในการรักษาอาการท้องผูก ควรใช้เป็นครั้งคราว หรือใช้ยาเท่าที่จำเป็น และใช้รักษาในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่ใช้ติดต่อกันเกินกว่า 2 สัปดาห์ เพราะถ้าใช้ติดต่อกันนานอาจจะทำให้ลำไส้ชินกับยา ส่งผลให้ต้องใช้ยาตลอดจึงจะขับถ่ายได้ ทางที่ดีหากคุณมีอาการท้องผูก แนะนำว่าควรใช้ยาสมุนไพรมะขามแขกเท่าที่จำเป็น และหันมารับประทานผักหรืออาหารที่มีกากใยอย่างจริงจัง ออกกำลังกายเป็นประจำ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ขับถ่ายให้เป็นเวลา
- การใช้สมุนไพรมะขามแขกติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดพิษต่อตับได้ (Malmquist, 1980) และอาจทำให้อิเล็กโทรไลต์ในเลือดต่ำได้ ทำให้ร่างกายสูญเสียธาตุโพแทสเซียม ทำให้เลือดมีภาวะเป็นกรดหรือด่าง การดูดซึมผิดปกติ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลด มีความดันโลหิตต่ำในผู้สูงอายุ และอาจทำลายเซลล์ประสาทในลำไส้ได้
- การใช้มะขามแขกในทางที่ผิด อาจทำให้ปริมาณของแกมมา-โกลบูลินในเลือดต่ำลง และทำให้นิ้วมือนิ้วเท้ามีลักษณะใหญ่และหนา (Finger clubbing)
- การใช้มะขามแขกอาจทำให้กระดูกบริเวณข้อมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติได้ (Hypertrophic Osteoarthropathy)
- การใช้สมุนไพรมะขามแขกเป็นยาระบายหรือแก้อาการท้องผูก หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะก็จะไม่มีอันตราย แต่หากใช้กินวันละหลาย ๆ รอบ หรือใช้ในปริมาณที่มากเกินไป ก็จะทำให้เสียน้ำจากการขับถ่ายมาก ทำให้ร่างกายทรุดโทรมลง รู้สึกไม่มีแรง และอาจถึงขั้นช็อกจนเสียชีวิตได้
- ไม่ควรใช้มะขามแขกร่วมกับยาต้านฮีสตามีนซึ่งเป็นยาแก้แพ้ เพราะอาจจะทำให้ฤทธิ์การเป็นยาระบายลดน้อยลง (Erspamer and Paolini, 1946)
- หากจำเป็นต้องใช้มะขามแขกติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ คุณควรรับประทานอาหารเสริมที่มีโพแทสเซียมสูง ๆ ควบคู่ไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดธาตุโพแทสเซียม (Ploss, 1975; Levine et al., 1981)
- มะขามแขกไม่ควรใช้เป็นยาลดความอ้วน เนื่องจากมันมีฤทธิ์แค่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากสิ่งที่ถูกจับออกนั้นจะเป็นกากอาหารและน้ำในร่างกาย ส่วนไขมันก็ยังอยู่ในตัวเราเหมือนเดิม ไม่ได้ถูกขับออกไปพร้อมของเสีย
สมุนไพรพริกไทย
เป็นพืชที่มีผลเป็นพวงเม็ดขนาดเล็ก จัดเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา และป็นราชาแห่งเครื่องเทศที่มีรสชาติเผ็ดร้อน สามารถนำมาทำเป็นพริกไทยแห้งไว้ใช้เป็นเครื่องปรุงในการประกอบอาหาร ถ้าเป็นแบบแห้งทั้งเปลือกจะเป็น พริกไทยดำหรือ Black Pepper (เพราะมีผงของเปลือกสีดำปนอยู่) แต่ถ้าลอกเปลือกออกก่อนทำเป็นผงก็จะได้เป็น พริกไทยขาว หรือ White Pepper (พริกไทยล่อน) เนื่องจากพริกไทยมีปริมาณน้ำในแต่ละเม็ดน้อยมาก จึงไม่ค่อยขึ้นรา ซึ่งวิธีการเก็บรักษาก็ง่าย ๆ เพียงแค่เก็บไว้ในโหลแก้วให้มิดชิด ส่วนพริกไทยป่นก็ควรบดเก็บแต่น้อยในภาชนะที่แห้งสนิทและปิดให้มิดชิดเช่นกัน
Comments
Powered by Facebook Comments
Facebook
Google+
RSS