ไบโพล่าคือ ทำความรู้จักกับโรคไบโพล่าร์
ไบโพล่าคือ “เดี๋ยวดี..เดี๋ยวร้าย ท่าจะบ้า”
“ดราม่าอะไรขนาดนั้น..”
“สงสัยเป็นไบโพลาร์แหละมั้ง”
คำพูดติดปาก ที่คอยล้อเล่นหรือว่ากล่าวเวลาเจอคนอารมณ์แปรปรวน จนอาจเป็นการเข้าใจผิดว่า “โรคไบโพลาร์” นั้นไม่ได้อันตราย ไม่มีอยู่จริงและคิดว่ามันก็แค่อาการของคนอารมณ์ไม่ดีก็เท่านั้น แต่จริงๆแล้ว โรคไบโพลาร์มันอันตรายและใกล้ตัวเรามาก วันนี้ Agnos จึงอยากพาทุกๆคนไปรู้จักกับโรคนี้กัน !
โรคไบโพล่าร์ คือโรคอะไร ?
ไบโพล่าคือ โรคอารมณ์สองขั้ว คือโรคที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติของอารมณ์ ที่เกิดจากสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุลกัน และผู้ป่วยโรคไบโพลาร์จะมีความผิดปกติทางอารมณ์สองแบบเปลี่ยนแปลงไปมาสลับกัน คือ อารมณ์ดี หรือก้าวร้าวผิดปกติ (mania) และอารมณ์ซึมเศร้า (depressed) โรคนี้จึงมีชื่อเดิมว่า manic-depressive disorder ผู้ป่วยสามารถมีอาการทั้งสองด้าน หรือ ด้านเดียวก็ได้ และไม่ใช่อาการ “เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย” อย่าที่หลายๆคนพูดกัน
อาการไบโพล่าร์ คืออะไร แบ่งได้กี่อารมณ์ ?
อาการของโรคไบโพลาร์ สามารถแบ่งเป็นอารมณ์หลักๆได้ 2 อารมณ์ คือ อารมณ์ดี หรือก้าวร้าวผิดปกติ (Manic Episode)
- พูดเร็ว พูดมาก พูดไม่ยอมหยุด
- ความคิดแล่นเร็ว มีหลายความคิดเข้ามาในสมอง
- รู้สึกว่าตนมีความสำคัญหรือมีความสามารถมาก
- นอนน้อยกว่าปกติมาก โดยไม่มีอาการเพลียหรือต้องการนอนเพิ่ม
- สมาธิลดลง เปลี่ยนความสนใจ เปลี่ยนเรื่องพูดหรือการกระทำอย่างรวดเร็ว
- การตัดสินใจเสียไป เช่น ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย ทำเรื่องที่เสี่ยงอันตรายหรือผิดกฎหมาย ไม่ยับยั้งชั่งใจในเรื่องเพศ
อารมณ์เศร้า (Depressive Episode)
- รู้สึกซึมเศร้า ซึ่งอารมณ์เศร้าจะมีอยู่เกือบตลอดทั้งวันและเป็นทุกวันบางวันอาจเป็นมากบางวันอาจเป็นน้อย
- รู้สึกเบื่อ ขาดความสนใจหรือความเพลิดเพลินในกิจกรรมต่างๆที่เคยชอบทำ
- ปัญหาการกิน มักจะเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง หรือบางรายอาจมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้นผิดปกติ กินมากจนน้ำหนักเพิ่ม
- ปัญหาการนอน มักนอนไม่หลับ หรือบางรายจะหลับมากกว่าปกติ ง่วงนอนทั้งวัน
- ทำอะไรเชื่องช้า พูดช้า เคลื่อนไหวช้าลง
- รู้สึกอ่อนเพลียหรือไร้เรี่ยวแรง เป็นทั้งวันและแทบทุกวัน
- รู้สึกตนเองไร้ค่า มักโทษตัวเอง หรือรู้สึกผิดต่อตัวเอง
- มีปัญหาการใช้สมาธิ หรือมีความคิดความอ่านช้าลง
- คิดอยากตายไม่อยากมีชีวิตอยู่ คิดถึงเรื่องการตายอยู่เรื่อยๆ หรือบางรายพยายามฆ่าตัวตายหรือมีแผนฆ่าตัวตาย
โดยจะมีอาการเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ (อาการและระยะเวลาจะแตกต่างกันไปตามปัจจัยรอบข้าง)
ไบโพลาร์เกิดจากอะไร และใครเป็นไบโพลาร์ได้บ้าง ?
มีหลายสาเหตุ และปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ แต่ก็ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดนัก
เช่นเดียวกับ โรคซึมเศร้า อาการของโรคไบโพลาร์จะเกิดขึ้นเมื่อมีสารสื่อประสาทในสมอง คือ นอร์อะดรีนาลีน เซโรโทนิน และโดปามีน ในระดับที่ไม่สมดุลกัน ซึ่งจะทำให้มีอารมณ์ดี อยู่ในภาวะร่าเริงผิดปกติ และจะมีภาวะซึมเศร้า เบื่อหน่าย สลับกันไป นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยไบโพลาร์ มีสาเหตุจากพันธุกรรม โดยหากพบว่าในครอบครัวเคยมีคนที่เป็นไบโพลาร์เช่น พ่อหรือแม่เป็น ลูกก็จะมีโอกาสประมาณร้อยละ 15-25 ที่จะเป็นโรคไบโพลาร์ด้วย โดยรวมแล้วโรคไบโพลาร์ พบได้ประมาณ ร้อยละ 1.5 – 5 ของประชากรทั่วไป ช่วงอายุที่มักพบว่ามีอาการครั้งแรก คือ ช่วง 15 – 19 ปี แต่ผู้ป่วยบางคนอาจเริ่มมีอาการในระยะก่อนเข้าวัยรุ่นหรือวัยรุ่นตอนต้น โดยการเจ็บป่วยครั้งแรก อาจมีความตึงเครียดในชีวิตเป็นปัจจัยกระตุ้น เช่นการเสียชีวิตของคนในครอบครัว คนที่รัก ผิดหวังจากความรัก การเรียน หรือการงานเป็นต้น
การรักษา
โรคไบโพลาร์สามารรักษาให้หายได้ โดยหลักๆแล้วการรักษาจะเป็นการรักษาด้วยยา โดยแพทย์จะให้ยารักษาทางจิตเวชเพื่อปรับสารสื่อประสาทและควบคุมอารณ์ อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรทำควบคู่กันเพื่อผลดีในระยะยาว คือการทำจิตบำบัด หรือกิจกรรมบำบัด รวมถึงการรักษาแบบ CBT (Cognitive Behavior Therapy) เพราะจิตแพทย์จะสามารถค้นหาว่า อะไรคือสาเหตุของการเกิดโรคไบโพลาร์นอกเหนือจากเรื่องกรรมพันธุ์
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการรักษา คือกำลังใจ การช่วยเหลือ และความเข้าใจจากคนรอบข้าง มีปัจจัยมากมายที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการกลับมาใหม่ เช่นภาวะเครียดมาก การอดนอน หรือการขาดยา ทำให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากคนรอบข้างเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคนี้
โรคไบโพลาร์สามารถหายได้ จากการรับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา เพราะฉะนั้นการดูแลและสังเกตสุขภาพจิตของตัวเองนั้น สำคัญพอๆกับสุขภาพร่างกายของเรา
Agnos สนับสนุนให้คนไทยทุกคนหมั่นตรวจเช็กสุขภาพจิตของตัวเองและคนรอบข้าง เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง และทันเวลา
Agnos วิเคราะห์ได้ทั้งอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย และอาการด้านจิตใจ ด้วย AI วิเคราะห์โรคด้วยตนเอง โดยวิศวกรไทยจาก MIT และทีมแพทย์มืออาชีพจาก Agnos สามารถทดลองใช้งานได้ฟรี
โหลดเลยที่ 📲 http://onelink.to/2fryfd
อ้างอิง
https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1105
https://www.manarom.com/blog/bipolar.html
https://www.bangkokhospital.com/content/2-types-bipolar-disorder
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/bipolar-disorder
https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95/Bipolar-Disorder
Comments
Powered by Facebook Comments
Facebook
Google+
RSS